เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก
1.
รู้และเข้าใจธรรมชาติของการดำรงชีวิต
2.
เข้าใจการเจริญเติบโตอันอาศัยการเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว และสามารถแก้ปัญหาได้
3.
เข้าใจลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต



week 1


Topic : ชีวิตมหัศจรรย์
เป้าหมายรายสัปดาห์: สร้างฉันทะ และแรงบันดาลใจ
Week
Input
Process ( PBL )
Out put
Out come

1.

โจทย์:
- สร้างฉันทะและแรงบันดาลใจ
- สำรวจ/เลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้

คำถาม:
- ธรรมชาติสร้างสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร
- นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ได้ดู
- นักเรียนได้อะไรจากการเดินสำรวจรอบๆโรงเรียน
-
เราจะตั้งชื่อโครงงานให้น่าสนใจว่าอย่างไร
-
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้

เครื่องมือคิด:
- Round Rubin แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สำรวจ
- Brainstorms ปัญหาที่เกิดจากการทำกิจกรรม
- Think Pair Share สิ่งที่อยากเรียนรู้
- Card and Chart สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- Fish Bone สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 1
- ติดชิ้นงานบนบอร์ดทุกคน (Wall Thinking)

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน


บรรยากาศ/สื่อ:
- ห้องเรียน
- นอกห้องเรียน
- คลิปหนอนผีเสื้อ http://www.youtube.com/watch?v=xepgqIrMsY8
หรือ






ชง:
ครูให้นักเรียนดูคลิป หนอนผีเสื้อ

เชื่อม:
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด ( Think Pair Share )

ชง:
- ให้นักเรียนปะทะปัญหาโดยการเดินสำรวจรอบๆโรงเรียน

เชื่อม:
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สำรวจ

ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นด้วยปัญหา
- ธรรมชาติสร้างสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร
- เราจะตั้งชื่อโครงงานให้น่าสนใจว่าอย่างไร

เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหา และตอบคำถาม (Round Rubin )
-
นักเรียนเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ ( Think Pair Share )

ใช้:
- นักเรียนระดมสมองร่วมกันเพื่อตั้งชื่อโครงงาน
- วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
- นักเรียนเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับโครงงานที่จะเรียน
- นักเรียนติดชิ้นงานบนบอร์ดทุกคน
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
- นักเรียนสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 1



ชิ้นงาน:
-
หัวข้อโครงงาน
- ภาพวาด
-
สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
-
สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 1

ภาระงาน :
- พูดคุยแสดงความคิดเห็น
-
ออกแบบและวางแผนการปฏิบัติงาน
- ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน




ความรู้:
- วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่เรียนรู้และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ทักษะ:
- การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีและเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- คิดเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มอยากเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

คุณลักษณะ:
- คารพสิทธิ หน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่แวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้




1 ความคิดเห็น:

  1. การสร้างฉันทะและแรงบันดาลใจคือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากที่จะเรียนรู้ พี่ ป.3 ป.4 เกิดการอยากเรียนรู้และเพิ่มมากขึ้นจากการที่ได้รับการปะทะเหตุการณ์ หรือ สถานการณ์จำลองที่ครูได้เป็นผู้กำหนดขึ้น การได้ดูสิ่งแปลกใหม่ของคลิปวีดีโอก็เป็นส่วนหนึ่งในการจำลองเหตุการณ์ การดำรงชีวิต การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตต่างๆที่ไม่เหมือนกันล้วนเป็นสิ่งที่เขาเหล่านั้นไม่เคยได้เห็นมาก่อน ทำให้การค้นคว้าและการเดินสำรวจในบริเวณรอบๆโรงเรียนเป็นไปอย่างตื่นเต้น แม้การเห็นการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นแล้วก็จะยังเป็นปัญหาของตนเองที่ต้องไปศึกษา ค้นคว้าต่อไป จากการสังเกตุ พี่ ป.3 ป.4 มีความกระตือรือล้นที่จะเรียน มีความพร้อมและวางแผนการตอบคำถามจากครูที่จะคอยสร้างปัญหาให้เด็กบ่อยๆ โดยปัญหานั้นล้วนเป็นสิ่งที่กระตุ้นการเรียนรู้ทั้งสิ้น

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น