เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก
1.
รู้และเข้าใจธรรมชาติของการดำรงชีวิต
2.
เข้าใจการเจริญเติบโตอันอาศัยการเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว และสามารถแก้ปัญหาได้
3.
เข้าใจลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต



week 7


Topic : ชีวิตมหัศจรรย์
เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนจะนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือขยะรีไซเคิล มาทำของเล่นได้อย่างไร
Week
Input
Process ( PBL )
Out put
Out come

7.

โจทย์:
- วางแผนประดิษฐ์ของเล่นจากสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว

คำถาม:
- นักเรียนเห็นอะไรบ้าง และคิดว่าอย่างไรกับสิ่งที่เห็น
- สิ่งของเหล่านี้นำมาทำอะไรได้บ้าง แล้วจะทำอย่างไร

- นักเรียนจะนำของที่ไม่ใช้แล้วมาทำของเล่นได้หรือไม่ อย่างไร
- นักเรียนคิดเห็นอย่างไรเพราะเหตุใด

เครื่องมือคิด:
- Round Rubin แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
- Web วิธีทำของเล่น
- Show and Share แผนในการประดิษฐ์ของเล่น
- Show and Share ชิ้นงานที่ทำ
- Brainstorms ปัญหาที่เกิดจากการทำกิจกรรม
- Flow Chart สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน


บรรยากาศ/สื่อ:
- วัสดุ สิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
- ครู นักเรียน
- อุปกรณ์ เครื่องมือ



ชง:
ครูให้นักเรียนนำสิ่งของ
อะไรก็ได้ที่ไม่ใช้แล้วมาจากบ้าน หรือจะเป็นขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ก็ได้อย่างน้อย 1 ชิ้น จากนั้นตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากสิ่งที่นำมารวมกัน และรู้สึกอย่างไร
- สิ่งของเหล่านี้นำมาทำของเล่นอะไรได้บ้าง
- นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไร เพราะเหตุใด

เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหา วิธีคิดที่แตกต่าง ( Round Rubin )
-
นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน แล้วร่วมระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับการประดิษฐ์ของเล่นจากสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว (Brainstorms)

ใช้:
- นักเรียนออกแบบวางแผนการทำของเล่นจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือขยะรีไซเคิล (Web)
-
นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเองหน้าชั้นเรียน (Show and Share)
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
- นักเรียนสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์












ชิ้นงาน:
-
แผนในการสร้างและประดิษฐ์ของเล่นจากสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
-
สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์

ภาระงาน :
- พูดคุยแสดงความคิดเห็น
-
ออกแบบวางแผนการประดิษฐ์ชิ้นงาน และเตรียมอุปกรณ์
- ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน





ความรู้:
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้ว โดยคำนึงถึงคุณค่า
-
การเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้ว
-
ตระหนัก/เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
-
รู้จักการแบ่งปัน
-
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
-
เข้าใจวิธีป้องกัน ในการใช้อุปกรณ์ประดิษฐ์ชิ้นงาน

ทักษะ:
- เป็นคนช่างสังเกต มองเห็ปัญหา และแนวทางการแก้ไข
-
คิดค้นหาวิธีอย่างสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา
-
รู้จักปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่น
-
นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
-
สามารถแก้ปัญหา ให้เหตุผล
สื่อความหมาย และการนำเสนอชิ้นงาน

คุณลักษณะ:
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง เคารพและให้เกียรติผู้อื่น
-
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการรู้จักแก้ไขปัญหา
-
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
- มีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน
- คุณธรรม จริยธรรม







สาธุ ขอให้ผ่าน ฉลุย....เพี้ยง !!!


รอยยิ้มแห่งการเรียนรู้


ผลงานที่ทำด้วยใจ แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 7 : ผ่านมาอีกสัปดาห์ กับการเรียนรู้แบบบูรณาการ เด็กๆ พี่ ป.3 ป.4 ได้แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงาน มีการเตรียมอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ของเล่น แต่ก็มีความตั้งใจมากเกินไปที่จะทำ มีการทำมาก่อนจากที่บ้าน เวลาเช้าเรียนวิชาสามัย ก็ยังแอบเอาของเล่นขึ้นมาทำอีก แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของความทะเยอทะยานที่จะเรียนรู้ จนต้องลำบากกับครูที่สอนในวิชาสามัญอีก
    ในชั่วโมงของการเรียน จากการที่ได้แยกชนิด แยกประเภทของขยะ เด็กๆก็สามารถอธิบายได้ดี สามารถแยกขยะออกเป็นชนิดต่างๆ อาทิเช่น กระดาษ โลหะ พลาสติก ยางสังเคราะห์ ยางธรรมชาติ หรืออีกมากมายหลายอย่าง จนทำให้ครูได้เห็นว่า เด็กมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง สามารถระวังอันตรายจากการที่สัมผัสขยะอันตรายเช่นถ่านไฟฉายได้อีกด้วย รอยยิ้มที่สดใส กับการบรรยายสิ่งประดิษฐ์ของกลุ่มตนเอง ทำให้รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมของเด็กๆได้เป็นอย่างดี ##

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น